การทะเลาะกันของพ่อและแม่ส่งผลต่อลูกอย่างไร

Figure 1 https://goo.gl/49hUQS

เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะทะเลาะกัน แต่การทะเลาะกันนั้นสามารถส่งผลต่อเด็กอย่างมาก สิ่งที่ผู้ปกครองสามารถหยุดยั้งปัญหาที่มาจากบทบาทของพวกเขาได้มีอะไรบ้าง

สิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้านสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการพัฒนาระยะยาวของเด็กได้ ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่-ลูกที่สำคัญ แต่การที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อกันและกันก็เป็นบทบาทหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก และสามารถส่งผลต่อทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่สุขภาพจิตไปจนถึงความสัมพันธ์ในอนาคต ในกรณีการทะเลาะกันส่วนใหญ่จะมีไม่มีผลทางลบต่อเด็กหรืออาจมีน้อย แต่เวลาที่ผู้ปกครองตะโกนหรือโกรธกัน หรือเวลาที่ผู้ปกครองไม่พูดคุยกัน หรือใช้วิธี “สงครามเย็น” ปัญหาก็จะยิ่งหนักขึ้น การวิจัยนานาชาติและประเทศอังกฤษที่ใช้เวลาหลายทศวรรษในการสังเกตที่บ้าน ติดตามผลระยะยาว และศึกษาผลการทดลอง ให้ความเห็นว่าเด็กอายุ 6 เดือนที่ได้รับรู้ความขัดแย้งจะมีอัตราการเต้นของหัวใจและการหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้น เด็กทารก เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยรุ่นสามารถแสดงสัญญาณของการพัฒนาสมองเบื้องต้นที่ถูกทำลาย ภาวะความผิดปกติของการนอนหลับ ความวิตกกังวล ความสะเทือนใจ นำมาซึ่งความผิดปกติและปัญหารุนแรงอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากการอาศัยอยู่กับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ปกครองเป็นระยะเวลานานและรุนแรง ด้านการเรียนก็ได้รับผลกระทบจากการรับรู้ความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุดของผู้ปกครอง ผลกระทบเดียวกันนี้ยังสามารถพบได้ในเด็กที่ต้องรับรู้การขัดแย้งที่ต่อเนื่องแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า เทียบกับเด็กที่มีผู้ปกครองที่ใช้การเจรจาและแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์

Figure 2 https://www.noyshop.com/web-board/board.php?newsId=1580

พันธุกรรม หรือการเลี้ยงดู

ผลกระทบที่มีต่อเด็กอาจไม่ได้เป็นดั่งที่คิดเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น การหย่าร้าง และการที่ผู้ปกครองตัดสินใจแยกกันอยู่ เป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบที่รุนแรงและยาวนานต่อเด็กหลายต่อหลายคน แต่ในบางกรณีก็สามารถกล่าวได้ว่าการทะเลาะเบาะแว้งของผู้ปกครองในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการแยกกันอยู่เป็นส่วนที่ส่งผลร้ายให้กับลูกมากกว่าการหย่าร้าง  ในทางเดียวกัน มีการสันนิษฐานบ่อยครั้งว่าพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะตอบสนองต่อความขัดแย้งนั้นอย่างไร และความเป็นจริงที่ว่า “พันธุกรรม” เป็นส่วนสำคัญของสุขภาพจิตของเด็ก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาตั้งแต่ความวิตกกังวลจวบจนถึงความเศร้าและความวิกลจริต แต่สภาพแวดล้อมที่บ้านและ “การเลี้ยงดู” ที่เด็กๆ ได้รับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก มีคนจำนวนเพิ่มขึ้นที่คิดว่าพันธุกรรมที่ซ่อนอยู่เป็นภัยต่อสุขภาพจิตที่ไม่ดีที่สามารถทำให้แย่ลงหรือดีขึ้นได้ คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ด้วยกันหรือไม่ หรือเด็กจะมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับผู้ปกครองหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การมีลูกจากการรับบริจาคไข่และอสุจิ หรือการรับอุปถัมภ์เด็ก

 การทะเลาะเรื่องที่เกี่ยวกับลูก

ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างไรต่อผู้ปกครอง อันดับแรก สิ่งที่สำคัญคือการตระหนักว่าการทะเลาะและการไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ปกครอง แต่อย่างไรก็ตาม เวลาที่ผู้ปกครองต้องเผชิญกับความขัดแย้งที่บ่อยครั้ง รุนแรง และไม่รับการแก้ไข เด็กก็จะแย่ลง ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรื่องที่ทะเลาะเกี่ยวกับลูก เช่น ทางที่เด็กจะโทษตัวเอง หรือรู้สึกผิดที่ทำให้เกิดการทะเลาะ ผลกระทบทางลบเหล่านี้รวมไปถึง ภาวะความผิดปกติของการนอนหลับ การพัฒนาของสมองเบื้องต้นถูกทำลายในเด็กวัยแรกเกิด ปัญหาด้านความประพฤติของเด็กปฐมวัย ความสะเทือนใจ ปัญหาด้านการเรียน และปัญหารุนแรงอื่นๆ เช่น การทำร้ายตัวเองในเด็กโตหรือวัยรุ่น หลายทศวรรษที่ผ่านมา เราได้รับรู้ว่าความรุนแรงในครอบครัวสามารถทำร้ายเด็กได้ แต่ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องแสดงอารมณ์ที่แปรปรวนหรือพฤติกรรมก้าวร้าวต่ออีกฝ่ายหนึ่งเพื่อที่จะทำร้ายให้เลิกรากัน หากผู้ปกครองไม่พูดคุยกัน หรือแสดงความรู้สึกที่ดีต่อกันน้อยลง การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ด้านพฤติกรรมและด้านสังคมของเด็กก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ปัญหาไม่จบแต่เพียงเท่านั้น ไม่ใช่เพียงแต่เด็กเท่านั้นที่ชีวิตความเป็นอยู่ได้รับผลกระทบ แต่ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าความสัมพันธ์แย่สามารถส่งผ่านไปยังรุ่นถัดไปได้ มันเป็นวัฏจักรที่ควรจะทำลายทิ้งถ้าหากต้องการชีวิตที่มีความสุขเพื่อเด็กในวันนี้ และเพื่อการสร้างครอบครัวในรุ่นต่อไป

Figure 3 https://is.gd/0Lgy9a

 การทะเลาะกันแบบ ‘ส่วนตัว

มีอีกหลายปัจจัยที่สามารถลดสาเหตุของความเสียหายได้ งานวิจัยพบว่า เด็กอายุประมาณ 2 ขวบ หรืออาจจะเริ่มจากอายุน้อยกว่านั้น เป็นนักสังเกตที่มีไหวพริบในการสังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่ เด็กๆ มักจะสังเกตเห็นการทะเลาะเบาะแว้ง แม้แต่ตอนที่ผู้ปกครองคิดว่าลูกๆ ของพวกเขาไม่เห็น หรือเชื่อว่าพวกเขาปกป้องลูกๆ ด้วยการทะเลาะกันแบบส่วนตัว สิ่งที่สำคัญคือ เด็กๆ จะตีความหรือเข้าใจสาเหตุและผลของการทะเลาะนั้นอย่างไร อ้างอิงจากประสบการณ์ในอดีตของเด็กๆ พวกเขาจะคิดว่าการทะเลาะกันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น หรือเกี่ยวกับตัวพวกเขา หรือสามารถสั่นคลอนครอบครัวได้ พวกเขาอาจจะกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์ของพวกเขากับพ่อแม่จะแย่ขึ้น การวิจัยแนะว่าเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะตอบสนองต่างกัน เด็กผู้หญิงจะมีความเสี่ยงในด้านปัญหาทางอารมณ์มากกว่า ในขณะที่เด็กผู้ชายจะมีความเสี่ยงทางด้านปัญหาทางพฤติกรรมมากกว่า บ่อยครั้งที่นโยบายต่างๆ ที่มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาสุขภาพจิตของเด็กๆ พุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนที่ตัวเด็ก หรือที่ตัวผู้ปกครองโดยตรง แต่การสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองอาจจะสร้างความแตกต่างให้กับเด็กในระยะสั้น รวมถึงเตรียมความพร้อมพวกเขาให้สร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งร่วมกับคนอื่นต่อไปในอนาคตได้ดีกว่า เมื่อเด็กๆ มีความสัมพันธ์ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือกับญาติ ลูกพี่ลูกน้อง หรือผู้ใหญ่คนอื่นๆ (เช่น คุณครู) และเพื่อนๆ สิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาสุขภาพที่ดีในระยะยาว สิ่งที่เกิดขึ้นที่บ้านมีอิทธิพลอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของพวกเขาทั้งในแง่ดีและไม่ดี เป็นเรื่องธรรมชาติที่ผู้ปกครองจะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อลูกจากการทะเลาะของพวกเขา และมันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปกครองจะทะเลาะหรือไม่เห็นด้วยในบางครั้ง ในความเป็นจริงเด็กๆ จะตอบสนองได้ดีเมื่อผู้ปกครองอธิบายว่าทะเลาะเกี่ยวกับเรื่องอะไรหรือแก้ปัญหาได้ด้วยทางที่เหมาะสม ในความเป็นจริง ถ้าผู้ปกครองแก้ไขเรื่องที่ทะเลาะได้ เด็กๆ จะสามารถเรียนรู้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ในแง่ดีได้ซึ่งช่วยพวกเขาค้นพบอารมณ์ของพวกเขาและความสัมพันธ์ในวัฏจักรครอบครัว ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาส่งผลต่อระดับการพัฒนาของเด็กอย่างไรเพื่อเด็กที่สุขภาพดีในวันนี้ และเพื่อครอบครัวที่สมบูรณ์ในวันข้างหน้า

Tags:

Share:

Share on facebook
Share
Share on twitter
Share

You Might Also Like This

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เริ่มแล้ว! มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

Read More

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save