การเขียนด้วยมือยังสำคัญอยู่หรือไม่?

งานวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับการเขียนด้วยมือ (Writing) ยังคงไม่มีข้อสรุปแน่ชัดไปในแนวทางเดียวกัน บ้างก็ว่าสำคัญ บ้างก็ว่าไม่

✅นักวิชาการการศึกษาบางท่านบอกว่า การเขียนด้วยมือ หรือการฝึกลายมือเป็นเรื่องไม่สำคัญเพราะมันไม่ได้มีบรรจุในหลักสูตรโดยตรง และหลายๆรัฐในปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้บังคับการสอนหรือการฝึกเรื่องลายมืออีกต่อไป หากผู้เขียนเป็นนักเรียนในรัฐหนึ่งทางตอนเหนือของนิวยอร์ค ผู้เขียนคงไม่จำเป็นต้องฝึกเรื่องการเขียนด้วยมือหรือเรื่องลายมือแล้ว ทักษะหลายอย่างอาจถูกมองข้ามหากมันไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในทักษะที่ต้องใช้ในการสอบ ซึ่งหนึ่งในทักษะทั้งหลายเหล่านั้นก็คือ ทักษะเรื่องการเขียนด้วยมือนั่นเอง

🖊ทำไมเราต้องสอนเรื่องลายมือให้กับเด็ก

นักจิตวิทยาและนักเขียนชื่อดัง Stanislas Dehaene แห่ง College de France ในปารีสกล่าวว่า “เมื่อเราเขียน ระบบประสาทบางส่วนจะถูกกระตุ้นขึ้นมา เพราะลักษณะท่าทางการเขียนหนังสือจะส่งผลโดยตรงให้มีการเปลี่ยนแปลงในสมอง และการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลเฉพาะทางต่อระบบประสาทในส่วนที่เกี่ยวกับความจำ ซึ่งช่วยทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น”​

✅งานวิจัยนี้แสดงให้เราเห็นว่า สมองเราถูกกระตุ้นขึ้นมาเฉพาะเวลาเราเขียน แต่ไม่ใช่เวลาเราที่พิมพ์อะไรบางอย่างลงไป และการกระตุ้นสมองนี้เองเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราจดจำอะไรต่างๆได้ดีขึ้นเวลาเราเรียน

✅งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า หากนักเรียนเขียนด้วยลายมือมากกว่าพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ จะสามารถจดจำและสามารถดึงความคิดต่างๆมาใช้ได้ดีกว่า

🖋ทุกวันนี้ความสำคัญของการเขียนด้วยมือเริ่มหายไป

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า นักเรียนเสียอะไรไปบ้างจากการที่ใช้การพิมพ์แทนการจดโน้ตในห้องเรียน งานวิจัยเหล่านี้มักขอให้นักเรียนนั่งฟังการบรรยายอะไรสักอย่าง แล้วให้เลือกเอาว่าจะจดหรือจะพิมพ์ตามแล้วเอาไปอ่านทีหลัง จากการวิจัยพบว่า นักเรียนที่จดโน้ตสามารถจดจำข้อมูลได้นานกว่าและเข้าใจในเนื้อหาเหล่านั้นได้ดีกว่า เพื่อดูว่าพวกเขาจำอะไรได้บ้าง พวกเขาพบว่านักเรียนที่จดโน้ตด้วยมือมีผลทดสอบออกมาดีกว่า

อย่างไรตาม นักเรียนที่พิมพ์โน้ตมักจะมีเนื้อหารายละเอียดมากกว่า แต่ตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนมาจากการบรรยายได้น้อยกว่า ดังนั้น ในขณะที่การพิมพ์โน้ตในห้องเรียนอาจจะทำให้ได้เนื้อหามากกว่า แต่การจดโน้ตด้วยลายมือจะช่วยให้นักเรียนจดจำได้มากกว่า

อ้างอิง: https://www.brainfit.co.th/th/blog-th/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%94-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B3

————————————————————————

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Learn More at

Website : www.minorsmartkids.com

Instagram : instagram.com/minorsmartkids/

Line : @minorsmartkids (อย่าลืม @ ด้วยนะคะ) https://bit.ly/2FpZ44s

YouTube: https://www.youtube.com/user/MinorEducationGroup/

Tags:

Share:

Share on facebook
Share
Share on twitter
Share

You Might Also Like This

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เริ่มแล้ว! มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

Read More

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save