ตอน สอนนกฮูก
ลูกของผู้ปกครองรายหนึ่ง อยากรู้อยากเห็น ชอบลอง ทั้งๆที่เคยเตือนแล้วก็ยังอยากทำ เหมือนดื้อเงียบ อย่างตอนลูกวิ่งจนหกล้ม ก็เคยดุลูกว่า “เห็นไหม บอกแล้วก็ไม่เชื่อ” มีอยู่ครั้งหนึ่งสามีก็พูดแบบนั้นตอนที่ลูกวิ่งแล้วล้ม ถึงมาคิดได้ว่า ไม่ต่างอะไรกับที่ตัวเองพูด แล้วก็เหมือนซ้ำเติมลูกไปในตัว จึงได้แค่รีบวิ่งไปบอกสามี ให้ปลอบลูกที่กำลังร้องไห้อยุ่เท่านั้น
เวลาที่ใครทำอะไรผิดพลาด เสียใจกับเรื่องที่ผิดอยู่ หากมีใครมาพูดทำนองที่บอกว่า เห็นไหมบอกแล้วก็ไม่เชื่อ เราก็คงอยากจะสวนกลับไปว่า ถึงไม่ต้องบอก ฉันก็รู้ว่าไม่ควรทำอีก
ทั้งๆที่จริงแล้ว เวลาลูกทำผิดพลาด มันคือช่วงเวลาที่ดีในการที่จะสอนให้ลูกรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เขาก็จะเติบโตเป็นคนที่ไม่ซ้ำเติม หรือเยาะเย้ยคนอื่น เมื่อคนรอบข้างทำผิดพลาด
ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กก็เหมือนกัน ไม่อยากให้ใครมาว่า เมื่อทำผิดพลาดแล้วก็จะเรียนรู้และคิดได้เองว่าต้องแก้ไขอย่างไร
จะดีกว่าไหม ถ้าเราพูดว่า “เจ็บแย่เลยนะ หรือ มีแฟลตรงไหนหรือเปล่า” กับลูกของคุณที่เพิ่งหกล้มมา
เด็กที่อยากรู้อยากลอง เป็นลักษณะของบุคลิกภาพแบบนกฮูก ซึ่งวิธีการสอนที่ดีอย่างหนึ่งก็คือไม่ควรไปซ้ำเติมเค้า แต่ต้องสอนให้เค้ายอมรับในความเป็นจริง ให้รู้จักคิด รู้จักค้นคว้า มีเหตุผล ด้วยตัวของเขาเอง
เช่นเดียวกับลายนิ้วมือของน้องต้นข้าว ที่นิ้วหัวแม่มือด้านซ้ายเป็นลายมัดหวายคู่ ลักษณะบุคลิกภาพแบบนกฮูก ลองมาดูกันว่าน้องต้นข้าว มีปัญหาอะไรนะครับ
น้องต้นข้าว เวลาจะทำอะไรแต่ละที ยืดยาดอืดอาดกันแบบสุดๆ อย่างตอนให้ลูกพยายามใส่เสื้อผ้าเอง บางทีก็ช้าจนทนไม่ไหว ต้องตวาดบังคับให้ลูกเร่งความเร็วอยู่บ่อยๆ ไม่รู้จะพิถีพิถันอะไรกันนักหนา จนคุณแม่เกรงว่าลูกชายของตัวเองจะเรียบร้อยจนเกินไป
“โอ๊ย คงไม่ขนาดนั้น มั้งครับ พี่ดา” ผมบอกกับคุณแม่ของน้องต้นข้าว
ถ้าดูจากลายนิ้วมือของน้องเค้า เป็นลักษณะนกฮูกแบบนี้ ก็เป็นไปได้นะครับ ว่าน้องเค้าจะเป็นคนพิถีพิถัน มาตราฐานสูง มีความคิดเป็นของตนเอง”
ลองมาดูวิธีแนะนำที่หมอกอล์ฟบอกให้แม่ดา ปฎิบัติกับน้องต้นข้าว ดีกว่านะครับ
ตอนนี้น้องต้นข้าวยังเด็ก วิธีสอนที่ดีอาจให้น้องเค้าสนุกกับสิ่งนั้นๆ เช่น แทนที่จะเร่งน้องเค้าให้สวมเสื้อผ้า อาจจะหาเกมมาแข่งกัน อย่างอาจจะบอกลูกว่า ลอกมาแข่งกันใส่เสื้อไหมลูก ใครเสร็จก่อนชนะ หรือถ้าลูกนอนดึกแล้วตื่นสายอยากให้นอนไว ก็อาจจะบอกว่า เรามาแกล้งนอนหลับให้คุณพ่อตกใจเล่นกันไหม
ลองทบทวนดูว่า จริงๆแล้วเราจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องรีบร้อน บางทีเราอาจจะเผื่อเวลาให้ลูกบ้างสักหน่อย หรือถ้าดูจากนาฬิกาแล้ว ในเมื่อลูกเป็นคนเจ้าระเบียบ ชอบพิถีพิถัน ก็อาจให้ลูกลองกำหนดตารางเวลาเองว่า จะทำอะไรตอนกี่โมง ใช้เวลากี่นาที แทนที่จะสั่งให้ลูกทำหรือดุ ให้เปลี่ยนเป็นเตือนเวลาแทน เช่นอาจบอกว่า “วันนี้ต้องออกจากบ้านกันกี่โมงนะ” แทนที่จะบอกว่า “ตื่นเร็วๆ ชักช้าอยู่นั่น เดี๋ยวก็สายไปโรงเรียนไม่ทันหรอก”
สรุปแล้วลักษณะนิสัยบุคลิกภาพนกฮูก จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง พิถีพิถัน มาตราฐานสูง อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง ชอบทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน โลเล ตัดสินใจช้า โดยวิธีการสอนต้องให้เด็กมีเหตุผล ไม่จุกจิก สอนให้ยอบรับความเป็นจริง สอนให้รู้จักคิด รู้จักค้นค้วา เพื่อหาตัวตนที่แท้จริง