ตอน หนูขี้กลัว

ตอน หนูขี้กลัว


จะทำอย่างไรดี ถ้าลูกของคุณเป็นเด็กที่ขี้แย ขี้ขลาด ขี้กลัว

ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณลองดูเรื่องราว ของน้องเมย์  ซึ่งเป็นเด็กขี้แย ขี้ขลาด อารมณ์อ่อนไหวง่าย โดนดุว่านิดๆหน่อยๆก็น้ำตาคลอเบ้า บางทีอยู่ดีๆก็ร้องไห้เองโดยไม่มีเหตุผล ยิ่งไปกว่านั้นถ้าไปเล่นกับเด็กที่เล็กกว่า ถึงแม้ว่าจะโดนเด็กเล็กกว่าแย่งของเล่นไป ก็ยังจะร้องไห้ออกมาเลย

ถ้าเป็นไปได้ แล้วน้องเมย์ อธิบายออกมาได้เอง เธอคงอยากจะพูดออกมาว่า “หนูไม่ได้อยากจะร้องนะ แต่มันกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่”

ถ้าเป็นเช่นนั้น ยิ่งไม่ควรตลาดลูกของคุณ ยิ่งตวาดให้หยุด ก็ยิ่งเสียใจร้องไห้หนักขึ้น ลูกจะยิ่งเสียใจและหมดความมั่นใจไปกว่าเดิมอีก

“จริงๆแล้ว ที่ฉันดุลูกไป ก็แค่อยากให้ลูกเงียบ”  คุณแม่ของน้องเมย์อธิบาย

“ทำไมหละครับ”

“เพราะถ้าลูกยิ่งร้องนาน ฉันก็จะยิ่งเศร้า เดี๋ยวฉันก็จะร้องตามลูกนะสิหมอ”

“อ้าว เป็นซะงั้นไป”

การร้องไห้เป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วยระบายความเศร้าและความเครียดให้ออกมากับน้ำตา  เงนั้นเวลาที่ลูกร้องไห้จึงไม่ควรไปบังคับให้ลูกหยุดร้องทันที แบบที่หลายๆคนชอบบอกให้ลูก “อึ๊บ  อึ๊บ สิลูก” เพื่อให้ลูกเงียบๆ

ทางที่ดีควรพาหรืออุ้มลูกไปยังที่ที่ไม่รบกวนผู้อื่น แล้วให้ลูกร้องไห้ได้อย่างเต็มที่ ได้ปลดปล่อยความรู้สึกออกมา เหมือนเวลาร้องไห้ตอนดูหนังซึ้งๆ แล้วรู้สึกโล่งนั้นเอง

เด็กอีกคนคือน้องบุค เป็นเด็กที่ประหม่า ขี้อาย  จนครูที่โรงเรียนก็รับมือไม่ถูกว่าลูกคิดอะไรอยู่ บางทีก็หงุดหงิดจนต้องดุลูกไปว่า

“ตกลงจะเอายังไงกันแน่” ลูกก็จะยิ่งเงียบไม่กล้าคุยหนักเข้าไปอีก

ถ้าลูกถูกกดดันให้พูดทุกอย่างออกมา เด็กคงจะตื่นเต้นเกร็งประหม่าหนักกว่าเดิม ถึงจะคุยกับพ่อแม่พี่น้องก็ไม่สามารถพูดออกมาได้ เด็กก็จะยิ่งขี้อายหนักขึ้นกว่าเดิมจนถึงขั้นเสียความมั่นใจเข้าไปใหญ่

การพยายามแสดงให้ลูกเห็นว่ากำลังรับฟังสิ่งที่เขาเป็นอยู่นั่นต่างหากคือสิ่งที่สำคัญ เช่น รับฟังลูกโดยไม่ขัดจังหวะ ไม่รีบด่วนสรุป คอยสบตาและตอบสนองกับคำพูดของลูก ไม่ประชดประชันสิ่งที่ลูกพูด เมื่อลองรับฟังลูกพูดอย่างตั้งใจ อาจจะได้พบความคิดดีๆ ที่มีอยู่ในตัวลูกได้

บุคลิกภาพทั้งน้องเมย์ และน้องบุค เป็นตัวแทนของบุคลิกภาพแบบกิ้งก่าได้เป็นอย่างดี นั่นคือ เป็นคนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก คิดมาก ขี้ใจน้อย อารมณ์อ่อนไหว ต้องการความอบอุ่นมากเป็นพิเศษ ดังนั้นสิ่งที่ควรปฎิบัติกับคนที่มีลักษณะนิสัยแบบนี้ จึงควรรับฟังปัญหาของเขา ฝึกให้เขากล้าพูด กล้าแสดงออก อย่างมีความมั่นใจในตนเอง ต้องชมเชย ให้รางวัลเมื่อเขาทำสิ่งที่ถูก และสนับสนุนด้านการอ่าน การเรียน ให้มีความรู้หลากหลายด้านนั่นเอง

Tags:

Share:

Share on facebook
Share
Share on twitter
Share

You Might Also Like This

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Read More

A Child’s First Library of Value

สร้างเสริมคุณค่าและแนวทางพฤติกรรมที่เหมาะสมมากกว่า 60 ประการผ่านเรื่องราวอันสวยงามในหนังสือนิทาน และซีดีเสียง ทั้ง

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save