วัยทารก
• ปรับตัวรับโลกภายนอกได้อย่างรวดเร็ว การกอดลูกและสัมผัสลูกตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิด เป็นการช่วยให้ทารกรู้สึกอุ่นสบายและมั่นคงปลอดภัยหลังจากต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายหลังคลอด ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกไว้วางใจในโลกใหม่ที่เขาออกมาสัมผัส
• สร้างความอบอุ่น มั่นคง (basic trust) ในเวลาที่ลูกกำลังร้องไห้งอแงถ้าลูกได้อุ้มรับการโอบกอดไว้แนบอก ลูกก็จะหยุดร้องไห้แทบจะทันทีเพราะการกอดของแม่ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย ต่ออันตรายทั้งปวง
• ช่วยให้ลูกร้องไห้น้อยลง ผลวิจัยชี้ว่าเด็กที่ได้รับการกอดและสัมผัสจากแม่อย่างใกล้ชิดจะร้องไห้น้อยกว่าเด็กที่ถูกแยกออกจากแม่หลังคลอด
• เสริมสร้างสติปัญญา เมื่อสมองของลูกรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น จะช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาการด้านอื่นๆ ต่อไป โดยการโอบกอดลูก จะไปกระตุ้นเซลล์สมองของลูกน้อยให้มีเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อของเส้นใยประสาทมากขึ้น สามารถส่งสัญญาณประสาทได้เร็วขึ้นและมีการติดต่อประสานงานที่มีประสิทธิภาพอันจะเป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความฉลาดและสติปัญญา
• ช่วยพัฒนาการสื่อสารระหว่างแม่และลูก เด็กแรกเกิดจะแสดงออกให้แม่เห็นเมื่อรู้สึกหิว รู้สึกอิ่ม หรือรู้สึกไม่สบายตัว การสัมผัสและกอดอย่างใกล้ชิดจะช่วยให้แม่เข้าใจการแสดงออกของลูกน้อยได้เร็วขึ้น ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมั่นใจในการเลี้ยงดูลูกมากยิ่งขึ้น
• ช่วยเพิ่มความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูก (Bonding) เป็นพื้นฐานสำคัญของครอบครัวที่ดีในอนาคต
• มีผลด้านบวกต่อพัฒนาการด้านสมองของทารก ซึ่งพบว่าฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และความทรงจำของสมอง ของเด็กที่ได้รับความรักจากพ่อแม่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 10%
วัยเด็กเล็ก
• เป็นกำลังใจที่สำคัญให้ลูก การกอดลูกก่อนไปโรงเรียนทุกเช้าจะส่งผลให้เขามีอารมณ์มั่นคงได้ตลอดทั้งวัน ในขณะเดียวกัน การกอดลูกตอนกลับจากโรงเรียนอาจทำให้เขารู้สึกสงบ ไม่งอแง จากการที่เขาต้องเจอเหตุการณ์ใหม่ๆ ทุกวัน อาจมีทั้งความรู้สึกดีหรือไม่ดีต่อคนรอบข้าง
• จัดการกับอารมณ์ตนเองได้ดี อาละวาดน้อยลง
• ผ่อนคลายและสามารถปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างได้ง่าย เป็นเด็กที่มั่นใจเพราะรู้ว่ามีคุณพ่อคุณแม่อยู่เคียงข้างเขาตลอด ลูกจึงเติบโตเป็นเด็กที่มีทัศนะคติที่ดี อารมณ์ดี และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
• ลดความรู้สึกในทางลบ เช่น หวาดกลัว กังวล ลูกจะสามารถพัฒนาการตอบสนองและรับมือความเครียดได้ดีโกรธเกรี้ยว ไม่สบายใจ
• เสริมสร้างความฉลาด ลูกจะสามารถเก็บข้อมูลในสมองส่วนหน้าได้ดี สามารถเรียนรู้ เมื่อถูกกระตุ้นได้ง่าย ซึ่งช่วยให้ลูกมีทักษะในการเข้าสังคมได้ดีต่อไป
• มีภาวะทางอารมณ์ที่ดี เด็กที่มีความผูกพันทางอารมณ์ที่ดีกับคุณแม่มาตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเขาเติบโตขึ้น พัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเขาจะดีกว่า เขาจะเป็นเด็กร่าเริง
• ทำให้ลูกรู้จักคุณค่าในตัวเอง เพราะเด็กเล็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ ทำให้อาจมีการเอาแต่ใจ หรือเรียกร้องความสนใจจากคนอื่นบ้างตามประสา การกอดเขาเอาไว้ให้แน่น คือตัวช่วยที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองยังเป็นคนสำคัญ ยังเป็นที่ต้องการ และยังได้รับความรักจากคนอื่น เมื่อลูกโตขึ้นไปลูกจะมีความมั่นใจ มีความเชื่อมั่น และรู้จักคุณค่าของตัวเอง ลูกจะรับรู้ว่ายังมีพ่อกับแม่ที่คอยห่วง คอยเป็นกำลังใจ และพร้อมให้ความรักกับลูกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะออกไปเจอกับเรื่องแย่ ๆ มาแค่ไหนก็ตาม
นอกจากการกอดจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับลูกน้อยแล้ว การกอดเองก็ยังมีประโยชน์อีกมากมายสำหรับคุณแม่อีกด้วย
• ผลิตน้ำนมได้มากขึ้น เพราะเมื่อคุณแม่โอบกอดลูกน้อยด้วยความรัก สมองจะเกิดการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความรัก (Love Hormone) ออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อตัวคุณแม่และคุณลูก เพราะช่วยทำให้ร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพและปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ทั้งยังเสริมสร้างให้ภูมิคุ้มกันของลูกน้อยสมบูรณ์ แข็งแรงดีอีกด้วย
• ผ่อนคลายความเครียด นอกจากฮอร์โมนออกซิโทซินจะช่วยกระตุ้นน้ำนมแล้ว ยังทำหน้าที่ต่อสู้กับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด ช่วยทำให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกรู้สึกผ่อนคลาย สงบสุข รวมถึงหลับสบายมากขึ้น
• ช่วยลดอาการปวดเมื่อย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีอาการปวดเนื้อเมื่อยตัวเป็นประจำ เมื่ออุ้มลูกน้อยมาไว้ในอ้อมกอด ก็จะรู้สึกได้ว่าความตึงเครียดที่สะสมมานั้นเบาลง กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ รู้สึกผ่อนคลาย นั่นเป็นเพราะร่างกายได้หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมานั่นเอง
อ้างอิง: https://babylove.co.th/บทความเกี่ยวกับลูก/สัมผัสและกอดจากแม่
———————————————————
Learn More at
Website : www.minorsmartkids.com
Instagram : instagram.com/minorsmartkids/
Line : @minorsmartkids (อย่าลืม @ ด้วยนะคะ) https://bit.ly/2FpZ44s
YouTube: https://www.youtube.com/user/MinorEducationGroup/