งานวิจัยล่าสุด เมื่อปี 2562 พบว่า การที่เด็ก ๆ ได้เห็นหรือพบเจอการกระทำความรุนแรง ก็สามารถส่งผลเสียได้กับสุภาพจิตของพวกเขาได้ ซึ่งผลกระทบก็จะเทียบเท่ากับการที่พวกเขาได้รับความรุนแรงนั้น ๆ โดยตรงเลย โดยนักจิตวิทยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา Kathleen Kendall-Tackett ได้อธิบายว่า “เด็ก ๆ ก็เปรียบเสมือนดั่งผ้าขาว”
แบบไหนบ้างถึงเรียกว่า “ความรุนแรง”?: เพียงแค่คำพูดที่เสียดสี ก็นับว่าเป็นความรุนแรงได้ เช่น การเถียง ตะโกน หรือทะเลาะกันอย่างรุนแรง หรือจะเป็นการบังคับ ขู่เข็ญ การใช้อาวุธ หรือการที่ลงมือทำร้ายกันจนบาดเจ็บให้เด็ก ๆ เห็น เป็นต้น
แล้วจะส่งผลใดต่อเด็กบ้าง?: เด็ก ๆ ที่เคยมีประสบการณ์อยู่ในสถานการความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงภายในครอบครัว เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ตัวของเด็ก ๆ ที่สุด และเด็ก ๆ เมื่อประสบกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้วก็จะมีแนวโน้มที่จะมีอาการนอนไม่หลับ, ปัสสาวะรดที่นอน, มีปัญหาทางการสื่อสาร การขับขี่ และความเข้าใจ รวมทั้งเด็ก ๆ อาจจะมีปัญหาด้านการเรียน, อยากทำร้ายตนเอง, มีนิสัยก้าวร้าวและต่อต้านสังคมหรือซึมเศร้าและวิตกกังวล เป็นต้น
แล้วจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง?: พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ‘เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา’ กล่าวว่า “วิธีการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หมอคิดว่าควรจะเริ่มตั้งแต่ ระดับของภาคสังคมและประชาชน เราอาจจะต้องร่วมมือกันในเรื่องของการเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการใช้ความรุนแรง และร่วมมือกันที่จะไม่เผยแพร่สื่อที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง หรือไม่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในการเผยแพร่ความรุนแรงเท่านั้นเอง นอกจากในสังคม ในสื่อ จุดต่อมาที่เราจะช่วยได้ก็คือในครอบครัวของเราเอง พยายามที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงทั้งในเรื่องของร่างกายและการใช้คำพูดที่รุนแรงต่อกัน พยายามคุยกันด้วยความมีสติและเหตุผล และพยายามหาวิธีการจัดการกับอารมณ์ และเรื่องของการให้ความรู้ตรงนี้ เพราะหลาย ๆ คนก็ไม่รู้ อาจจะคิดว่าความรุนแรงน่าจะเป็นเรื่องของการใช้กำลัง การทำร้ายทางร่างกายอย่างเดียว แต่จริงๆ ความรุนแรง มันก็เป็นเรื่องของความรุนแรงทางคำพูด หรือการใช้อารมณ์ ก็ถือเป็นความรุนแรงเหมือนกัน”