เลี้ยงลูกให้โตมาแฮปปี้ในยุคดิจิทัล

“คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะควบคุมการใช้เทคโนโลยีของลูกๆ อย่างไร?” คำถามนี้เป็นคำถามที่พ่อแม่ยุคดิจิทัลหลายคนอาจจะสงสัยและลังเล เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้ทำให้ทุกบริบทในการใช้ชีวิตนั้นล้วนต้องพึ่งพาอุปกรณ์ที่ทำร้ายสายตาหรือสุขภาพทั้งนั้น นับตั้งแต่เพื่อความบันเทิงตลอดไปจนถึงการใช้เพื่อการเรียนการสอน ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในยุคที่ทุกอย่างได้พัฒนาล้ำหน้าไปแล้วซึ่งบทความนี้จะมาช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจวิธีเลี้ยงลูกในยุคดิจิทัลให้เด็กๆ โตมามีคุณภาพมากที่สุด

สถิติจากPew Research Center กล่าวว่ามีพ่อแม่มากถึง 66% ในสหรัฐอเมริกาเผยว่าการเลี้ยงดูลูกในปัจจุบันนั้นยากกว่าเมื่อ ช่วง 20 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก โดยอ้างว่าเทคโนโลยีนั้นเป็นเหตุผลหลัก และจากผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างข้างต้น ส่วนใหญ่มองว่าเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีนั้นยังไม่ควรจะมีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง ในขณะที่กว่า 65% ของผู้ปกครองจากกลุ่มเดียวกันมองว่าเด็กๆ ควร จะมีแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ก่อนอายุ 12 ปี

แต่อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาเด็ก ริชาร์ต ฟรีด ได้แนะนาว่าการเลี้ยงลูกเพื่อให้มีคุณภาพที่สุดในยุคดิจิทัลนี้ พ่อแม่และผู้ปกครองควรจะให้การสนับสนุน ดังนี้:

  1. อิงจากศาสตร์ของการเลี้ยงลูกให้โตมามีความสุข: การที่เด็กๆ จะมีความสุขได้นั้น พ่อแม่จะต้องเปิดกว้างและโอกาสเด็กๆ ในการคิดได้อย่างสร้างสรรค์และออกไปทำกิจกรรมข้างนอก การที่เด็กๆ รู้และเข้าใจวิธีการใช้เทคโนโลยีให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดและได้เข้าใจความรู้สึกของการมีเพื่อนที่ดีนั้นจะช่วยสนับสนุนให้เด็กๆ ได้รู้จักควบคุมตนเองได้ สามารถเลือกใช้และจัดสรรเวลาเป็นเมื่อใช้เทคโนโลยี
  1. รักษา 2 เสาหลักในวัยเด็ก คือ “ครอบครัว” และ “การมีส่วนร่วมที่โรงเรียน” ของเด็กให้แข็งแรงที่สุด: ตาม ธรรมชาติ เด็กๆ จะต้องการใช้เวลากับครอบครัวอย่างมีคุณภาพเพื่อเสริมสร้างสุขภาพทางจิตใจและความมั่นใจให้กับตัวพวกเขา และมากไปกว่านั้นถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่จะบอกว่าการที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดนั้นมาจากอุปกรณ์ เทคโนโลยีสุดทันสมัยแต่อย่างไรก็ดี การที่เด็กๆ จะเข้าศึกษาต่อในระดับขั้นที่สูงขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีมาตรวัดจากความเข้าใจในเนื้อหาพื้นฐานที่ได้ศึกษามาจากโรงเรียนครูและผู้รู้เป็นหลัก ไม่ใช่คะแนนที่สูงที่สุดจากวิดีโอเกมส์หรือยอดผู้ติดตาม ใน social media ของพวกเขา
  2. ควบคุมปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนจนเกินวัตถุประสงค์หลัก: จากสถิติจากมูลนิธิครอบครัว Kaiser พบว่า เด็กๆ ใช้เวลากับคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเพียงแค่ 16 นาทีต่อวัน แต่กลับใช้เวลากับกิจกรรมเพื่อความบันเทิงและเทคโนโลยีต่างๆ ในโทรศัพท์เกินจากการใช้เพื่อติดต่อสื่อสาร ซึ่งมากถึง 5 ชั่วโมงครึ่ง และ 8 ชั่วโมงสำหรับกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเวลาพวกนั้นก็คือ เวลาที่เด็กๆ ควรจะใช้เพื่ออยู่กับครอบครัวหรือเรียนรู้เพิ่มเติมนั่นเอง
  3. ความสัมพันธ์ของเด็กๆ กับสมาชิกภายในครอบครัวและโรงเรียนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ: บรรยากาศภายในบ้านเป็น บรรยากาศที่จะช่วยขัดเกลานิสัยและความความสัมพันธ์ของเด็กๆ กับครอบครัวและโรงเรียนในระยะยาวได้การที่พ่อแม่ เป็นพ่อแม่รูปแบบที่เลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative Parenting Style) ที่คิดค้นโดย Baumrind (1971) นั้นนับว่า เป็นการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมเด็กๆ ในการใช้เทคโนโลยีในยุคนี้ เพราะพ่อแม่ไม่ได้เพียงแค่เข้าใจ ให้ความรักความอบอุ่น และมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขตพฤติกรรมของเด็ก แต่ก็ยังให้เด็กๆ มีส่วนร่วมที่จะตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ภายใต้หลักเหตุและผลด้วยตัวของพวกเขาเอง

ท้ายที่สุดแล้วการที่จะห้ามไม่ให้เด็กๆ ใช้เทคโนโลยีเลยก็คงอาจจะเป็นไปได้ยากในยุคนี้ที่ทุกอย่างได้ผันเปลี่ยนไปเป็นออนไลน์เกือบจะหมดแล้ว ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่จะช่วยได้เพื่อที่จะถนอมสุขภาพทางด้านต่างๆ ของลูกคือการช่วยควบคุมระยะเวลาและขอบเขต การใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับตัวเด็กๆ ทั้งยังช่วยให้ความรักความอบอุ่นและอิสระในการใช้ชีวิตให้แก่พวกเขาเพื่อ ช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กๆ จะหันไปหาสังคมโลกออนไลน์มากกว่าให้ความสำคัญกับสมาชิกในครอบครัว

 

อ้างอิง:

https://www.pewresearch.org/internet/2020/07/28/parenting-children-in-the-age-of-screens/

https://www.heysigmund.com/back-to-basics-raising-children-in-the-digital-age-by-richard-freed/

http://utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/294/%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B2%20%E0%B8%88%E0% B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%98%E0%B8%A3.pdf

Tags:

Share:

Share on facebook
Share
Share on twitter
Share

You Might Also Like This

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เริ่มแล้ว! มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

Read More

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save