10 เทคนิคพิชิต “เด็กต่อต้าน”

เด็กในวัย 1 – 3 ปี👶🏻👧🏻 เป็นวัยที่เริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การพูด รวมถึงการมีความคิดเป็นของตัวเอง จึงไม่แปลกที่เด็กวัยนี้จะทำตามสิ่งที่ตัวเองอยากทำมากกว่าการทำตามที่คนอื่นบอก ทำให้บางครั้งผู้ใหญ่อย่างเรารู้สึกว่าเด็กวัยนี้ดื้อ ต่อต้าน แต่แท้จริงแล้วเขาแค่แสดงออกถึงตัวตนของเค้าเท่านั้นเอง

เราจึงมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับความเป็นตัวของตัวเองของลูกได้ง่ายขึ้นมาฝากค่ะ👀💕

✅1. ทำสิ่งต่าง ๆ ให้คาดเดาได้

สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน หากเราฝึกให้เด็กทำตามเวลาที่ใกล้เคียงกันและสม่ำเสมอ เด็กจะเกิดความเคยชิน และลดการต่อต้านลงในที่สุด อีกทั้งยังเป็นการช่วยจัดระบบเวลาในร่างกายซึ่งจะเอื้อให้เด็กทำตามได้ดีขึ้นอีกด้วย เช่น การจัดเวลารับประทานอาหาร เวลาตื่น เวลาหลับ ให้ใกล้เคียงกันเป็นประจำ เมื่อเกิดนาฬิการ่างกาย เด็กก็จะหิว ง่วง ตามเวลา ช่วยให้เราดูแลเด็กได้ง่ายขึ้นค่ะ

✅2. ให้เวลาเตรียมใจ

การเตือนก่อนล่วงหน้าที่จะถึงเวลาจริงเล็กน้อย จะช่วยให้เด็กร่วมมือได้มากขึ้น เพราะเค้าได้เตรียมใจไว้ก่อนแล้วนั่นเอง เช่น บอกให้เด็กเตรียมตัวที่จะเก็บของเล่น แล้วทิ้งระยะห่างซักพัก ก่อนที่เราจะให้เก็บจริง

✅3. ฝึกการช่วยเหลือตัวเองตามวัย

พยายามให้เด็กทำเองก่อน หากยังทำไม่ได้ ผู้ใหญ่สามารถช่วยเหลือหรือชี้แนะได้ แล้วค่อยลดการช่วยเหลือลงจนกระทั่งเด็กทำได้เอง ข้อนี้เป็นการฝึกความรับผิดชอบต่อตัวเอง ฝึกความพยายาม การมีระเบียบวินัย รู้จักหน้าที่ และเมื่อมีคนชมที่ทำได้ดี เด็กก็จะเกิดความมั่นใจ ส่งผลให้อยากทำสิ่งต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย หรือยากขึ้นด้วยตัวเองในภายหลัง โดยที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องคอยจ้ำจี้จ้ำไชมาก

✅4. ให้เลือกในขอบเขตที่เลือกได้

การที่เราให้เด็กเลือกแทนการบอกให้เด็กทำตรง ๆ จะช่วยให้เด็กไม่รู้สึกว่าถูกบังคับจนเกินไป และอยากร่วมมือมากขึ้น เช่น การให้เด็กเลือกว่า “หนูจะอาบน้ำกับพ่อหรือกับแม่ดีคะ” เด็กบางคนอาจลืมที่จะตอบว่า “ไม่อยากอาบ”  กลายเป็นมาสนใจการเลือกว่าจะอาบกับใครแทน ข้อควรระวังคือไม่ควรถามในสิ่งที่เราให้ไม่ได้ เช่น การถามว่า “หนูจะอาบหรือไม่อาบน้ำคะ” เพราะการไม่อาบน้ำเราให้ไม่ได้อยู่แล้ว และจะยิ่งผิดใจกับเด็กมากขึ้นเมื่อเด็กตอบว่า “ไม่อาบ”

✅5. เพิ่มความสนุกลงไปในกิจกรรมที่เด็กต้องทำ

เด็กจะได้มีแรงผลักดันที่อยากจะทำมากขึ้น ลดความรู้สึกเบื่อหน่าย และอาการอิดออดเมื่อเราบอกให้ทำ เช่น เมื่อเราอยากให้ลูกเก็บของเล่น เราอาจชวนลูกแข่งกันเก็บของเล่น เป็นต้น

✅6 .ใช้แรงจูงใจ

โดยการนำสิ่งที่เด็กชอบมาเป็นแรงดึงดูดใจให้เด็กอยากทำกิจกรรมขณะนี้ให้เสร็จเร็วขึ้นเพื่อจะได้ไปทำสิ่งที่ชอบมากกว่า  เช่น บอกว่า “มาเก็บของเล่นให้เสร็จกันดีกว่า แล้วจะได้ไปเล่นสนามเด็กเล่นกันนะคะ”

✅7. ใจเย็น ๆ

ผู้ใหญ่ควรไม่ดุ บ่น หรือเร่งเด็ก เพราะจะทำให้เด็กไม่อยากทำและต่อต้านได้ ที่สำคัญควรคอยให้กำลังใจรวมถึงชมเมื่อเด็กทำได้ หรือหากเด็กลงมือทำแล้ว แต่ผลงานยังไม่ดีเท่าที่ควรและเราอยากให้เด็กแก้ไข ผู้ใหญ่อย่าเพิ่งด่วนตำหนิเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกแย่ หมดกำลังใจ ทำให้ต่อต้านได้ เราควรชมในความพยายามของเด็กก่อน แล้วค่อยๆ โน้มน้าวให้เด็กอยากแก้ไข จะทำให้เด็กอยากทำด้วยความเต็มใจ อีกทั้งเป็นการเสริมความมั่นใจ และฝึกความพยายามอีกด้วย

✅8. บอกตรง ๆ

เวลาที่เด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่มักตอบสนองด้วยการบอก “หยุด อย่า ห้าม ไม่” ซึ่งบ่อยครั้งที่เด็กมักจะทำในสิ่งที่เราห้ามหรือทำตรงข้ามกับสิ่งที่เราบอก ทั้งนี้บางครั้งเด็กไม่ได้ตั้งใจที่จะต่อต้าน เพียงแต่การแปลผลในสมอง มักจะแปลผลในสิ่งที่ง่าย คุ้นเคย เห็นภาพได้ชัดเจนก่อน ส่วนคำว่า “หยุด อย่า ห้าม ไม่”  ต้องใช้ความคิดในการประมวลผลอีกขั้นตอน รวมถึงการคิดหรือยังยั้งชั่งใจในเด็กก็มีน้อยกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กแย่ลง แต่หากเราลองเปลี่ยนจากการพูดถึงสิ่งที่เราห้าม มาเป็นสิ่งที่อยากให้ลูกทำแทน เด็กส่วนใหญ่จะทำตามได้ง่ายขึ้นค่ะ เช่น แทนที่จะบอกว่า “อย่าปีน” อาจเปลี่ยนเป็น “มาเล่นกันตรงนี้ดีกว่าค่ะ” เพียงเท่านี้เด็กก็จะลดอาการต่อต้านลงได้มากเลยค่ะ

 

✅9. ไม่ควรอารมณ์เสีย กับคำว่า “ไม่”

วิธีการที่เราอาจจะตอบสนองคำว่า “ไม่” คือการบอกว่าเราเข้าใจเค้า เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวของเค้าได้รับการยอมรับ และทำตามได้ง่ายขึ้นค่ะ เช่น เมื่อเราบอกให้เด็กไปอาบน้ำ แล้วเด็กบอกว่า “ไม่อาบ” เราอาจจะบอกว่า “แม่เข้าใจว่าลูกยังไม่อยากอาบน้ำ แต่ถึงเวลาอาบแล้ว เราไปอาบน้ำกันนะคะ” การทำเช่นนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่า เราเค้าใจเค้าที่เค้าไม่อยากอาบ แต่เราก็ยังไม่เสียระบบในการฝึกระเบียบวินัย ด้วยการยืนหยัดในสิ่งที่ต้องทำ และสุดท้ายเด็กอาจยอมทำตามได้โดยปราศจากการใช้อารมณ์ในการจัดการ

✅10.  ถึงตัว

การที่ผู้ใหญ่บอกให้เด็กทำอะไรบางอย่าง โดยที่เราอยู่ห่างจากเค้า เด็กอาจรู้สึกว่าเราไม่ได้จริงจัง และบางครั้งเด็กก็ไม่ทันได้ฟังผู้ใหญ่ แต่หากเราเข้าไปพูดกับเด็กใกล้ๆ มองหน้า สบตา  แล้วบอกสิ่งที่เราอยากให้เค้าทำ เด็กจะรู้สึกว่าเราเอาจริง และจะยอมทำตามได้ง่ายขึ้นค่ะ

แต่ละเทคนิคอาจเหมาะกับสถานการณ์หรือเด็กแต่ละคนต่างกัน คุณพ่อคุณแม่ลองค่อยๆ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับการเลี้ยงดูในครอบครัวดูนะคะ หากทำได้ก็จะช่วยให้การรบกับเจ้าตัวน้อยลดลง และช่วยให้ลูกๆ กลายเป็นเจ้าชาย เจ้าหญิงตัวน้อยๆ ที่น่ารักของคุณพ่อคุณแม่ได้โดยไม่ยากเลยค่ะ

อ้างอิง : https://www.momster.in.th/content/7306/10-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84-%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99

———————————————————————

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Learn More at

Website : www.minorsmartkids.com

Instagram : instagram.com/minorsmartkids/

Line : @minorsmartkids (อย่าลืม @ ด้วยนะคะ) https://bit.ly/2FpZ44s

YouTube: https://www.youtube.com/user/MinorEducationGroup/

Tags:

Share:

Share on facebook
Share
Share on twitter
Share

You Might Also Like This

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Read More

A Child’s First Library of Value

สร้างเสริมคุณค่าและแนวทางพฤติกรรมที่เหมาะสมมากกว่า 60 ประการผ่านเรื่องราวอันสวยงามในหนังสือนิทาน และซีดีเสียง ทั้ง

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save