“15 อุปนิสัย เพื่อให้บุตรหลานเติบโตอย่างสุขภาพดี และมีความสุข”


รากฐานของสุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากครรภ์มารดา และใช้เวลาเสริมสร้างหลายปีสอนให้ลูกรู้จักเลือกรับประทานอาหาร ดูแลร่างกาย สุขอนามัยส่วนตัว เพื่อชีวิตที่มีความสุข วันนี้ MINOR SMART KIDS จะขอนำเสนอ 15 วิธี ที่จำเป็นสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ ในการดูแลบุตรหลานให้มีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ

เด็กนั้นเรียนรู้สิ่งต่างๆในชีวิตจากคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ใหญ่รอบๆตัว พวกเขาเรียนรู้วิธีการแสดงออก การเลือกกิน การปฏิบัติตัวต่อผู้อื่นในสังคม และการสื่อสาร พฤติกรรมเหล่านี้ จะมีผลติดตัวพวกเขาไปจนโต ดังนั้นการเป็นตัวอย่างที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต่อการสร้างจุดเริ่มต้นที่ดีในการดูแลสุขภาพแก่บุตรหลาน

และนี่คือ 15 วิธีส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนรู้ที่จะสร้างสุขภาพที่ดีได้ด้วยตนเองต่อไป

1) ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสำคัญต่อร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ การหาโอกาสที่ดีในการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่แนะนำแก่คุณพ่อคุณแม่ เช่น การเลือกใช้บันได แทนการขึ้นลิฟต์ หรือการเดินไปซื้อของ แทนการขับรถ และออกไปเล่นกีฬาที่สนุกสนานเช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ร่วมกันในครอบครัว เมื่อลูกโตขึ้น และได้แสดงให้เห็นว่ามีความสนใจกีฬาด้านใดเป็นพิเศษก็อย่าลืมที่จะส่งเสริมอย่างเต็มที่ เช่นหากลูกสนใจฟุตบอล ผู้ปกครองอาจจะส่งเสริมโดยการให้เขาได้เข้าร่วมแข่งขันกับสโมสร เป็นต้น

2) เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
รสนิยมในการเลือกทานอาหารของเด็กแต่ละคนนั้นสามารถเปลี่ยนแปรงได้ตลอด แต่ในวัยเด็กนั้นผู้ปกครองถือเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกอาหารแก่พวกเขา
ควรเลือกผักที่มีสีสัน เนื้อไม่ติดมัน ผลไม้สด ธัญพืช และพยายามงดเนื้อสัตว์แปรรูปและอาหารสำเร็จรูป
และก้าวไปไกลอีกขั้นด้วยการสอนให้บุตรหลานรู้จักปลูกพืชผักเอง หรือให้พวกเขามีส่วนร่วมในการเลือกเมนูอาหารหรือการไปจ่ายตลาด

3) งดน้ำตาลและโซดา
หลีกเลี่ยงคุกกี้ ขนมเค้ก ขนมหวาน เลือกใช้ซอสมะเขือเทศ น้ำสลัดและเครื่องปรุงรสที่ไม่มีน้ำตาลผสม ลดเครื่องดื่มที่เต็มไปด้วยน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง โซดา

4) ดื่มน้ำเปล่า
น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับร่างกาย
ซื้อขวดน้ำที่มีคุณภาพปราศจาก BPA (สารเคมีประเภทโพลีคาร์บอเนต) ให้บุตรหลานสามารถพกติดตัว สร้างนิสัยในดื่มที่ดี เพื่อทดแทนการเลือกดื่มน้ำผลไม้และโซดา
นอกจากนี้การมีขวดน้ำส่วนตัวสำหรับลูกๆ ยังช่วยให้หมดห่วงเรื่องความสกปรก หรือการใช้หลอดที่ไม่สะอาดอีกด้วย

5) การล้างมือ
เด็กมีโอกาสได้รับโรคติดต่อได้รวดเร็วและง่ายกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเด็กเริ่มอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนหรือเริ่มเข้าโรงเรียน การติดโรคติดต่อยิ่งมีโอกาสเกิดได้สูง ราวกับการเกิดไฟป่า
การเริ่มต้นฝึกนิสัยการล้างมือ หลังจากที่พวกเขาเข้าห้องน้ำ เมื่อพวกเขากลับมาจากข้างนอก และก่อนรับประทานอาหาร หลังเยี่ยมชมสถานที่และสัตว์เลี้ยงเป็นนิสัยที่ดีในการเริ่มต้นตั้งแต่ยังเล็ก
นอกจากนี้การพกแผ่นทำความสะอาด หรือทิชชูเปียกยังเป็นสิ่งจำเป็น และควรเลือกซื้อแบบที่ปราศจากแอลกอฮอล์

6) การแปรงฟัน
การแปรงฟัน เป็นอันดับหนึ่งของการเริ่มดูแลสุขภาพ เพราะสุขภาพช่องปากนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
การไปพบทันตแพทย์ปีละสองครั้ง เมื่อลูกอายุสองปีขึ้นไปเป็นเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือการแปรงฟันวันละสองครั้งและใช้ไหมขัดฟัน จำกัด ปริมาณน้ำตาลและระวังอาหารที่จะสามารถติดอยู่ในที่ที่ยากต่อการเข้าถึงเช่น ลูกเกด, แครนเบอร์รี่, และอาหารอื่น ๆ ที่เหนียว
หากบุตรหลานยังเล็ก แนะนำให้เลือกใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า หรือแบบหมุนได้ เพราะจะทำให้การแปรงฟังเป็นเรื่องสนุกสำหรับพวกเขา และยังสะอาดกว่าการที่ให้เด็กเล็กแปรงเองอีกด้วย

7) การนอน
การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาร่างกายจะได้รับผลกระทบเมื่อร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
การนอนหลับเป็นเรื่องประเด็นสำคัญมากในหมู่เด็กเล็ก เด็กบางคนเป็นเด็กที่หลับง่าย ในคณะที่บางคนไม่ชอบนอนหลับ และรั้น ผู้ปกครองควรศึกษาวิธีการ เฉพาะสำหรับบุตรหลานแต่ละคน เพื่อให้สามารถจัดสรรเวลานอนที่เหมาะสมได้

8)การทานอาหารเช้า
อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดของวัน เป็นแหล่งพลังงานสำหรับทั้งวัน
หากเลือกที่จะให้ธัญพืชสำเร็จรูป หรืออาหารเช้าสำหรับเด็กสำเร็จรูปเพราะเป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวกในตอนเร่งรีบ ก็อย่าลืมที่จะเสิร์ฟคู่กับผลไม้ หรือไข่ เพื่อให้พวกเขาได้สารอาหารที่ครบถ้วนในตอนเช้า และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับวัน

9) การพักผ่อน
ถึงแม้ว่าวุ่นวายเพียงใด ก็ควรจะจัดสรรเวลาให้ได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม ควรแบ่งเวลาให้ได้ใช้รวมกันกับคนในครอบครัว เพื่อความสุขและความสัมพันธ์อันดี

10) รู้จักป้องกันตัวเองจากแสงแดด
ความเสียหายจากแสงแดดแผดเผาสะสมตลอดเวลา แต่พฤติกรรมการดูแลผิวตั้งแต่ยังเล็ก จะส่งผลต่อผิวพันเมื่อโตขึ้นด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ครีมกันแดด สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันแดด หมวก แว่นตากันแดด เมื่อเป็นไปได้
พกครีมกันแดดติดกระเป๋าเป้สะพายหลังของเด็ก ๆ เมื่อพวกเขาไปโรงเรียน และสอนใหพวกเขาๆรู้จักทาครีมกันแดดก่อนออกไปเล่นข้างนอกให้เป็นนิสัย
เลือกซื้อครีมกันแดดที่แน่ใจว่าช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ได้ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

11) สุขอนามัยที่ดี
การมีสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ การอาบน้ำและสระผม ชำระล้างร่างกายด้วยสบู่ ใช้ครีมบำรุงผิว และสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด

12) ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ !
การสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ หมั่นหากิจกรรมหรือความทรงจำดีดี ที่สามารถทำรวมกันได้ และทำเป็นประจำ เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันในครอบครัว

13) ความสัมพันธ์อันดี
เด็กควรแยกออกได้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีและไม่ดีต่างกันอย่างไร เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ การมีสัมพันธ์อันดีต่อกันคือการรู้จัก ส่งเสริม กล่าวให้กำลังใจผู้อื่น ซื่อสัตย์ ให้อภัย และไว้ใจซึ่งกันและกัน และควรให้เด็กรู้ว่าการกล่าวร้าย การใช้อารมณ์ การโมโหร้าย กับผู้อื่นเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ

14) ปลอดภัยไว้ก่อน
ผู้ปกครองควรหมั่นอธิบายให้ลูกหลานเข้าใจเรื่องความปลอดภัย การรักษาตัว และระมัดระวังตัว ผู้ปกครองอาจจะมีความคิดว่าหัวข้อดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่เร็วไปหากบอกกับลูกอายุยังน้อย แต่ให้ตระหนักไว้ว่า ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญและไม่ใช่เรื่องที่เด็กเกินกว่าจะเรียน
นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรบอกบุตรหลานว่า ส่วนใดในร่างกายนั้นเป็นของสงวน ส่วนตัว เพื่อให้พวกเขาระวัดระวังตนเอง และรู้จักที่จะเคารพต่อร่างกายของผู้อื่นด้วย

15) ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่ลูกเป็นเรื่องที่คุ้มค่า เพราะไม่เพียงแต่เด็กจะได้รับความรู้ แต่การอ่านยังเสริมสร้างให้พวกเขายังมีจินตนาการ ได้ท่องโลกกว้างผ่านการอ่านอีกด้วย

การปลูกฝังนิสัย และวินัยที่ดีตั้งแต่เล็กนั้น เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้บุตรหลานนั้นเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ และมีความสุข

Tags:

Share:

Share on facebook
Share
Share on twitter
Share

You Might Also Like This

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เริ่มแล้ว! มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

Read More

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save