6 เคล็ดลับ เลี้ยงลูกรักให้มองโลกในแง่ดี

สงสัยกันไหมคะว่าต้องเลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นเด็กคิดบวก? เด็กที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาจะรู้จักรับมือกับชีวิตที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันได้ดีกว่า นี่คือ 6 เคล็ดลับที่จะช่วยให้ลูกรักของคุณมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ชีวิต

คุณรู้หรือไม่ ผู้ที่มองโลกในแง่ดีมีแนวโน้มว่าสามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 100 ปี  แต่จะทำอย่างไรให้ลูกรักเป็นเด็กคิดบวก?
เพิ่ม 6 เคล็ดลับนี้ลงในตำราการเลี้ยงลูกสำหรับผู้เริ่มต้นและคอยดูผลลัพธ์ดีๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้กันค่ะ

 

  1. ไม่บ่น หรือโวยวายให้เด็กๆ ฟัง

บ่อยครั้งที่คุณแม่จะบ่นเสียงดังเรื่องฝนตกรถติดขณะที่ขับรถไปส่งลูก ซึ่งอายุเพียง 2 หรือ 4 ขวบ ซึ่งจริงๆแล้วคุณแม่ควรจะพูดว่า “ก็เราไม่เคยไปที่นั่นเนอะ” มากกว่า “วันนี้เราไปสายกันอีกแล้ว” หากคิดถึงแต่สิ่งแย่ๆ และ สิ่งที่ทำให้ไม่พอใจ ก็ยิ่งทำให้หงุดหงิด ยิ่งคุณคร่ำครวญเรื่องเงิน หรือ การทำงานในวันที่ยากลำบาก เรื่องราวเหล่านั้นสามารถทำให้ลูกรักเรียนรู้ที่จะทำสิ่งนี้เช่นเดียวกัน ต่อไปนี้ให้เริ่มพูด“แม่จะจัดการงานช้างนี้ให้สำเร็จ” หรือ “วันนี้แม่เจอกับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมในที่ทำงาน” ดีกว่าค่ะ เพื่อฝึกให้มองเห็นเรื่องดีดี มากกว่าเรื่องแย่ๆ

  1. ให้คุณค่ากับเรื่องเล็กๆ

สอนให้ลูกรักรู้จักช่วยเหลือตนเองได้ ในแต่ละกิจวัตรประจำวัน เช่น เริ่มต้นตั้งแต่การรู้จักเปิด ปิด ไฟในห้องนอน และการเก็บที่นอนและการล้างหน้า แปรงฟัน ให้เรียบร้อย และคุณแม่ต้องชื่นชมลูกรักทุกครั้งหลังจากที่พวกเขาทำภารกิจต่างๆ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยตนเอง แม้ว่าภารกิจนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อย รึใหญ่ เพียงใด เพื่อให้พวกเขารู้สึกภาคภูมิใจ และสร้างทัศนคติที่ดีโดยให้ปลูกฝังให้พวกเขามีความคิดว่า “Can Do” (สามารถทำได้ ! ) Tamar Chansky, Ph.D. นักจิตวิทยาเด็กและนักเขียน กล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เด็กๆ พ้นจากความคิดในเชิงลบ คือ งานที่พ่อแม่มอบหมายต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กอายุ 2 ขวบสามารถเก็บของเล่นให้ถูกที่ เด็กอายุ 3 ขวบสามารถถอดเสื้อที่สกปรกของเขาใส่ลงตะกร้าผ้า เด็กอายุ 4ขวบสามารถนำจานอาหารไปใส่ไว้ที่อ่างล้างจาน เด็กอายุ 5 ขวบสามารถเอาขยะไปทิ้งได้ เด็กอายุ6ขวบสามารถแยกประเภทผ้าได้

  1. สนับสนุนให้เขาลองเสี่ยง และกล้าทำในสิ่งที่แปลกใหม่

เราทุกคนต่างมีความพยายามที่จะปกป้องลูกรักจากการได้รับบาดเจ็บ เราอาจมองว่ามันน่าอายสำหรับลูกรัก หากตกจากบาร์โหน หรือ ลื่นล้มต่อหน้าเพื่อนๆ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เราต้องการจะปกป้องเด็กๆจากสถานการณ์ที่ได้กล่าวไป แต่มันส่งผลให้ลูกรักเสียกำลังใจในการทำกิจกรรมต่างๆ และเป็นการทำลายความมั่นใจของลูก กระตุ้นให้ลูกรักมองโลกในแง่ร้ายมากขึ้น ดังนั้นทางที่ดีควรปล่อยให้ลูกรักได้มีอิสระ และคุณคอยดูพวกเขาอยู่ห่างๆ เช่นการลองปล่อยให้ลูกน้อยเล่นคนเดียวที่สนามหลังบ้าน หรือปล่อยให้ลูกออกไปทัศนศึกษากับโรงเรียน โดยที่ไม่มีคุณคอยตามดู นอกจากนั้น ให้พวกเขาเตรียมตัวรับมือกับความเสี่ยง หรือกิจกรรมที่ตื่นเต้นบ้าง เช่น การไปนอนค่ายพักแรม คุณไม่จำเป็นต้องกังวลหากลูกรักต้องลองสิ่งใหม่ๆ เพียงแค่รอลูกกลับบ้านและพูดกับคุณอย่างภาคภูมิใจว่าพวกเขาได้เผชิญเรื่องราวน่าตื่นเต้นใดมาบ้าง

  1. ให้ลูกรักแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง

เมื่อคุณได้ยินว่าเด็กคนอื่นๆ วิจารณ์ลูกสาวของคุณว่าอ้วน ด้วยสัญชาตญาณคุณต้องการโทรหาผู้ปกครองของเด็กคนนั้น แต่ก็ต้องห้ามใจตัวเองและลองให้ลูกรักแก้ไขสถานการณ์ด้วยตัวเอง และเมื่อลูกรักผ่านมันไปได้ พวกเขาก็จะรู้สึกภูมิใจ เมื่อลูกของคุณพยายามถามความหมายของคำศัพท์ใหม่ๆ หรือ ใช้เวลากับการต่อจิ๊กซอว์นานเกินไป การที่คุณจะยื่นมือเข้าไปช่วยเป็นเรื่องง่ายดาย แต่คุณควรปล่อยให้ลูกรักพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสและทำให้ลูกรักมองโลกในแง่ดี และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้

  1. คอยให้กำลังใจอยู่เสมอ

เด็กบางคนพยายามอย่างมากกับการทำการบ้าน  เด็กบางคนฟูมฟายด้วยความขุ่นเคืองว่า “หนูโง่วิชาคณิตศาสตร์”  น่าเสียดายที่ความล้มเหลวเพียงครั้งเดียวอาจจะทำให้ลูกรักเกิดความรู้สึกว่าเป็นปมด้อยของตัวเองถาวรเช่น “หนูไม่เก่ง” “หนูเล่นบอลได้แย่มาก” “หนูวาดภาพไม่ได้” เพื่อป้องกันลูกรักจากข้อสรุปเหล่านั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามเปลี่ยนทัศนคติลูกรัก สร้างกรอบความคิดใหม่ในด้านที่ดีให้กับลูก คุณอาจพูดกับลูกรักว่า “ในตอนแรก การเริ่มเล่นกีฬาใหม่ๆอาจจะยากนะลูก” หรือ “แม่รู้ หนูอ่านเวลาไม่เป็น แต่ลูกจะทำได้จ้ะ” และบอกให้ลูกรักรู้ว่าเขาไม่ใช่คนเดียวที่ทำไม่ได้ (“เด็กหลายๆคนในห้องลูกก็รู้สึกท้อแท้เหมือนกับลูกนี่ล่ะจ้ะ” หรือ “ตอนที่แม่ยังเด็ก แม่ก็เคยมีช่วงเวลาที่ยากลำบากเหมือนกัน แต่เราจะทำมันได้นะ”) ช่วยให้ความหวังลูกโดยกล่าวถึงทักษะด้านอื่นๆที่ลูกรักทำได้ดีเช่น “จำได้ไหมตอนที่ลูกอ่านหนังสือไม่ออก หนูใช้ความพยายามมากแค่ไหน หนูก็จะทำเรื่องนี้ได้เช่นเดียวกันจ้ะ” เป็นต้น

  1. สอนให้ยอมรับความจริง

ในบางครั้งคุณพ่อและคุณแม่อาจจะคอยให้กำลังใจลูกรักด้วยความรัก และมองโลกในแง่ดีเกินไป บางครั้งก็กล่าวเกินจริงในเรื่องที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะส่งผลให้ลูกเผชิญกับความผิดหวังอย่างรุนแรงได้ในภายหลัง ดังนั้นทุกคำปลอบโยนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเพื่อให้ลูกรับสามารถรับมือกับความผิดหวัง หรืออะไรที่อยู่เหนือความควบคุมได้

รู้อย่างนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมเอาเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ไปทอลองใช้กับลูกรักนะคะ

Tags:

Share:

Share on facebook
Share
Share on twitter
Share

You Might Also Like This

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21

Read More

A Child’s First Library of Value

สร้างเสริมคุณค่าและแนวทางพฤติกรรมที่เหมาะสมมากกว่า 60 ประการผ่านเรื่องราวอันสวยงามในหนังสือนิทาน และซีดีเสียง ทั้ง

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save