ในขณะที่ลูกแมวหนึ่งขวบกำลังวิ่งไล่จับหนูนั้น เด็กทารกหนึ่งขวบกำลังเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ผู้ปกครอง มนุษย์นั้นต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พวกเขาต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด เมื่อเวลาผ่านไปพวกเขาจะเริ่มเข้าใจวิธีการเอาตัวรอดจากการเรียนรู้ผ่านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เมื่อพวกเขาได้รับทักษะทางภาษา เด็กจะเริ่มใช้คำศัพท์ที่รู้มาเรียบเรียงและแสดงออกซึ่งความรู้สึก ความต้องการของตัวเอง
อย่างที่ทุกท่านนึกออก คำศัพท์ส่วนใหญ่ของเด็กเล็กนั้นมาจากการใช้คำศัพท์ของพ่อแม่ ไม่เพียงแต่คำศัพท์ที่พวกเขาได้ยินมาเท่านั้น แต่ท่าทาง หรือการแสดงออกต่างๆที่พ่อแม่ได้ใช้กับลูกรักนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ
ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง เราสามารถใช้ประสบการณ์จากการสอนภาษาลูกรักแต่ละครั้งมาเป็นประโยชน์ให้กับครั้งต่อๆไปได้ แหละนี้เป็น 6 วิธีการเพิ่มคลังคำศัพท์ให้ลูกรักตั้งแต่ยังเล็ก
- เห็นแล้วพูดเลย
หมั่นบรรยายถึงบางสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น อย่างเช่น “นั้นไงสุนัขมาแล้ว” เมื่อเห็นสุนัข เพื่อให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้คำศัพท์ได้เร็วกว่า แม้ว่าจะว่าไม่ได้สัมผัส
- สอนให้บรรยาย
กระตุ้นให้เด็กอธิบายในสิ่งที่เห็น โดยปกติเมื่อพบสิ่งต่างๆและชี้ไปที่สิ่งนั้น เราจะพูด นั่นวัว นั่นรถ นั่นเรือ เป็นต้น เราจะติดกับวังวนของคำนามเท่านั้น หลังจากนี้ให้ชวนเด็กๆอธิบายเพิ่มเติมด้วย เช่น ลักษณะเฉพาะ ขนาด และสี
- ฝึกฝนอยู่เสมอ
ใช้เวลาในการนั่งรถหรือการไปร้านสะดวกซื้อให้เป็นประโยชน์ในการฝึกฝนคำศัพท์ ชี้ไปที่สิ่งต่างๆ แล้วให้ลูกรักอธิบายเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ
- หมั่นโต้ตอบ
ตอบกลับเสมอเมื่อลูกรักพูดคุยกับคุณ อย่างเช่น ถ้าลูกรักพูดว่า “หนูเห็นแมว” คุณสามารถตอบกลับได้ว่า “นั่นแมวสีเทาใช่ไหม” และนี่ถือเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์การโต้ตอบบทสนทนา
5 ใช้การภาษาท่าทาง
จำไว้ว่าลูกรักจะจดจำท่าทาง การแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง ในการสนทนาและคอยศึกษาสถานการณ์ของคุณอยู่เสมอ ในระหว่างที่คุณพูดให้เว้นช่วง สบตา และใช้ท่าทางประกอบเสมอ ถ้าเป็นไปได้ให้โน้มตัวลงไปในระดับเดียวกันกับเด็ก
6 หมั่นให้กำลังใจ
เมื่อลูกรักกำลังชี้ไปที่บุคคลหรือสิ่งของแล้วบอกชื่อได้ถูกต้อง “หนูเห็นจมูกกระต่าย หนวดของมันกระตุกด้วย” ก็ให้ชื่นชม หรือคล้อยตามอยู่เสมอ
อย่าลืมที่จะสนับสนุนลูกรักให้เก่งอยู่เสมอนะคะ